1 เมษายน 2561

วิธีจัดการ ต้นต่อของความหิวสาเหตุที่ทำให้อ้วน



เกรลิน (Ghrelin hormone) ฮอร์โมน ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร เพื่อส่งสัญญาณบอกสมองให้สั่งสองมือไปหาอาหารเข้าปาก ก่อนมื้ออาหาร จะเป็นช่วงเวลาที่ระดับของเกรลินขึ้นสูง เมื่อรับประทานอาหารไป ระดับของเกรลินก็จะลดลงประมาณ 3 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย วิธีการที่จะจัดการกับความหิว คือ พยายามควบคุมเกรลินให้ไม่สูงเกินไป และไม่ถูกหลั่งออกมาเร็วเกินไป


วิธีควบคุมทำได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้

1.  เพิ่มโปรตีนดีในมื้ออาหาร พบว่าการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนดีสูง เช่น ไข่ขาว ปลา ถั่ว จะช่วยยับยั้งการหลั่งของเกรลินได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเช้า
2.  เลี่ยงอาหารไขมันสูง พบว่ามื้ออาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลยับยั้งฮอร์โมนหิวหรือเกรลินได้ไม่ดีเท่าอาหารไขมันต่ำ นั่นหมายความว่า ยิ่งรับประทานอาหารมันๆ ก็จะยิ่งหิวง่ายขึ้น!
3.  อย่านอนดึก การนอนไม่ พอส่งผลกระตุ้นการผลิตของเกรลิน ลองสังเกตดูว่าในวันที่คุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากจะง่วงเพลียแล้ว ยังมักจะหิวเก่งขึ้นด้วย
4.  รับประทานมื้อเล็ก แต่บ่อยขึ้น การแบ่งอาหารเป็นมื้อที่เล็กลง แต่บ่อยขึ้นเป็นทุก 3-4 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นเปปไทด์ YY3-36 ซึ่งจะไปยับยั้งการหลั่งของเกรลินอีกต่อหนึ่ง
5.  หาทางจัดการกับความเครียด เช่น ออกกำลังกาย นวด นั่งสมาธิ ฟังเพลง ในเวลาที่เรามีความเครียดหรือวิตกกังวล เกรลินจะถูกผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เราหิวง่ายขึ้นในยามเครียด

ที่มา : เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โดย พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.
และ Lovefitt

เคล็ดลับ วิธีลดไขมันในอาหาร


12 เคล็ดลับ วิธีลดไขมันในอาหาร

1. ควรเลือกใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหาร ไม่ใช่น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม

2. ลดการกินอาหารทอดและแกงกะทิต่างๆ เช่น หมูทอด ไก่ทอด

3. ลดการกินขนมหวานที่ใส่กะทิหรือมะพร้าว แม้จะมีรสหวานน้อยก็ตาม ได้แก่ กล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง

4. ลดการกินเป็ด ไส้กรอก หมูสับ หมูแฮม หมูยอ กุนเชียง (อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป เพราะมีไขมันแฝงมาก)

5. ลดการกินขนมอบ ขนมกรอบๆ ที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น มันฝรั่งทอด ถั่วชุปแป้งทอด โดนัต เค้ก คุกกี้ ขนมปังทาเนยอบกรอบ

6. เลือกกินเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วนๆแยกเอาไขมันและหนังออกให้หมดหรือเลือกกินเนื้อปลาที่มีไขมันปลาแทน สัปดาห์ละ 2-3 ตัว

7. กินอาหารประเภท ต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ นึ่ง ย่าง อบ
8. กินผัก กินอาหารที่มาจากผักสด ไม่น้อยกว่าวันละ 2 มื้อ มื้อละ 2 ทัพพี
9. กินผลไม้สด ไม่น้อยกว่าวันละ 2 มื้อ มื้อละ 1 จานเล็ก

10. พยายามทำอาหารกินเอง ให้กินอาหารนอกบ้าน หรืออาหารสำเร็จรูปให้น้อยที่สุด
11. ดื่มนม ให้ดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย แทนนมสดธรรมดา หรือดื่มนมถั่วเหลืองไม่หวานจัด สำหรับผู้ที่แพ้นมวัว

12. ลดการใช้น้ำตาลทราย วันละไม่เกิน 6 ช้อนชา (ประมาณ 24 กรัม)


ขอบคุณที่มา  www.thaihealth.or.th