1 สิงหาคม 2564

ชาวญี่ปุ่นแนะ อาหารช่วยลด "น้ำตาล" ในเลือด สำหรับผู้ป่วย "เบาหวาน"


เมื่อเข้าสู่วัยเลยกลางคน สิ่งที่ต้องระวังคือการไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลมากเกินไป เพราะอาจก่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานหรืออาการไม่สบายตัวต่างๆ เช่น เหนื่อยหรืออ่อนล้าผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย เป็นแผลเรื้อรังหายช้า ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตัว ตาพร่ามัวและตาลายจนถึงอาจนำไปสู่การหมดสติได้ มารู้จักอาหารที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้คนเป็นโรคเบาหวานรับประทานเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกัน

อาหารที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้คนเป็นเบาหวานรับประทาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 90 ในญี่ปุ่นเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารมากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย การป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไปนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานคือ อาหารที่มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น แมงกานีส โครเมียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและสังกะสี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่สำคัญคือการนำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายเพื่อสร้างเป็นพลังงาน และลดการสะสมอยู่ในกระแสเลือด โดยอาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานมีดังนี้ คือ

  • หอมใหญ่

หอมใหญ่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ช่วยเสริมการสร้างอินซูลินในร่างกาย การรับประทานหอมใหญ่วันละ ¼ หัว จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่หากรับประทานแล้วปริมาณน้ำตาลยังไม่ลดก็สามารถเพิ่มเป็นวันละ ½ หัวได้ โดยวิธีรับประทานนั้นสามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบหรือปรุงเป็นอาหาร อย่างไรก็ตามไม่ควรนำหอมใหญ่หั่นแช่น้ำเพราะวิตามินในหอมใหญ่จะละลายและสูญเสียไปกับน้ำ

  • กระเจี๊ยบเขียว

สารเมือกในกระเจี๊ยบเขียวเป็นเส้นใยอาหารจำพวกมิวซิน (Mucin) และเพกติน (Pectin) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิต และช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดโดยการเข้าไปห่อหุ้มน้ำตาลที่ลำไส้เล็กไว้ อีกทั้งกระเจี๊ยบเขียวยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ได้แก่ แมกนีเซียมและสังกะสี ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานที่ดีของอินซูลินด้วย

  • ข้าวกล้อง ข้าวสาลี และธัญพืชต่างๆ

ข้าวกล้อง ข้าวสาลี และธัญพืชต่างๆ อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เมื่อรับประทานทำให้ต้องเคี้ยวอย่างละเอียดซึ่งจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและพึงใจ นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุที่มีมากในธัญพืชเหล่านี้จะไปช่วยส่งเสริมการทำงานที่ดีของอินซูลิน

  • ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลินและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับวิธีการนำมารับประทานนั้นทำได้โดยการปอกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นวุ้นใสมารับประทานเป็นน้ำว่านหางจระเข้ หรือรับประทานกับโยเกิร์ต เป็นต้น

  • กล้วย

กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะโพแทสเซียมซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด กล้วยเป็นของว่างที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม ปริมาณที่รับประทานกล้วยให้ดีต่อสุขภาพคือวันละ 1 ผล

เบาหวานเป็นโรคที่รักษาให้หายได้จากการปรับพฤติกรรมทั้งการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การไม่เครียดและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากผู้สูงอายุในบ้านมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงจากเบาหวานก็ลองดูแลท่านด้วยอาหารข้างต้น หากได้ผลดีก็จะช่วยลดการรับประทานยา ซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆ นั้นจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงแก่ร่างกายได้

13 พฤษภาคม 2563

"New Normal" คืออะไร ทำไมชีวิตของเราถึงเปลี่ยนไปหลัง "โควิด-19"



“New Normal” หรือ  New Norm หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์

เป็นที่ทราบกันดีว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19)  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทำให้โลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างมาก ธุรกิจประเภทที่ปรับตัวได้จะยังคงอยู่รอดและสามารถเติบโตต่อไป

และหลังจากผ่านพ้นวิกฤตนี้ไป จะทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” หรือ New Norm ขึ้น ซึ่งก็หมายถึง “ความปกติใหม่” นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน และ การขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์

พฤติกรรมของ New Normal ที่อาจเปลี่ยนไป
  • เที่ยวต่างประเทศน้อยลง
  • ซื้อของกินของใช้ ตุนไว้สำหรับในเวลาฉุกเฉิน
  • เริ่มทำงานที่บ้าน (Work From Home) ในบางบริษัท
  • ใช้บริการ Food Delivery มากขึ้น
  • หันมาดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น
  • ลดการใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย
  • การรักษาระยะห่างทางสังคมและป้องกันตนเองโดยการใส่หน้ากาก


โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีออนไลน์

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายบริษัทมีการอนุโลมให้ทำงานที่บ้านโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์เข้ามาช่วย หลายสถานศึกษาจัดให้มีการเรียนการสอนทางออนไลน์ หลายธุรกิจเริ่มหันมาการทำธุรกิจค้าขายทางออนไลน์ กันมากขึ้น ในเวลาเดียวกันการตกงานและว่างงานก็จะเพิ่มขึ้น อาชีพอิสระใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์ในเส้นทางนี้อาจจะเกิดขึ้นมามากมาย


ความตระหนักด้านสุขอนามัยที่มากขึ้น

จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ตระหนักในด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยทั้งของตนเองและของส่วนรวมมากขึ้น เนื่องจากการรักษาสุขภาพตนเองให้ดีอยู่เสมอ การทานอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน จะช่วยป้องกันตนเองจากไวรัสได้ อีกทั้งสถานที่ให้บริการต่างๆ จะมีเจลแอลกอฮอล์รวมถึงมีบรรจุภัณฑ์ถูกสุขอนามัยให้ลูกค้าใช้ การเว้นระยะห่างและช่องชำระสินค้า การช้อปปิ้งแบบใหม่ จุดชำระเงินอัตโนมัติรวมทั้งบริการต่างๆ ที่ใช้การสั่งงานด้วยเสียงอาจเป็นบริการใหม่ที่อาจตามมาในไม่ช้า


ยุคที่ Work from home กลายเป็นเรื่องปกติ

การทำงานหรือทำธุรกิจในปัจจุบัน สามารถทำที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีอุปกรณ์สื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย ไม่ติดความจำเจ แต่บางครั้งถ้าไม่ได้ทันระวังหรือติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้จนไม่สนใจคนรอบข้างหรือครอบครัว อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสแต่จะเป็น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคออฟฟิศซินโดรม โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
แต่มีบางบริษัทก็ยังคงให้พนักงานมาทำงานตามปกติ ดังนั้น การจัดโต๊ะทำงานและการรักษาความสะอาดในสถานที่ทำงานจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

New Normal  คือ  “ความปกติใหม่”  คำใหม่ของยุคโควิด ที่เราทุกคนต้องปรับตัวการใช้ชีวิตให้ได้

29 มีนาคม 2563

กรมอนามัย แนะอยู่บ้าน 14 วัน เก็บอาหารสดในตู้เย็น ยึดหลัก 3 ส.



กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน เก็บอาหารสดในตู้เย็นให้ยึดหลัก 3 ส. ได้แก่ สะอาดปลอดภัย สัดส่วน สิ่งแวดล้อมเหมาะสม

เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุอาหารให้เก็บไว้ได้นาน ส่วนอาหารกระป๋อง ก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียด ก่อนกินต้องอุ่นให้เดือดทุกครั้ง

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ระบาด ประชาชนที่เป็นผู้กักตัวเองอยู่ที่บ้าน 14 วัน เพื่อเฝ้าระวังอาการ นอกจากจะไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับ ผู้อื่นแล้ว ต้องเลือกซื้ออาหารและปรุงประกอบอาหารที่สะอาดและปลอดภัย โดยการซื้ออาหารสด ประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก และผลไม้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ เครื่องดื่มชนิดต่างๆ มาเก็บไว้ในปริมาณพอเหมาะ เพื่อช่วยรักษาอาหารให้สดใหม่ ไม่เน่าเสีย อีกทั้งยังคงคุณค่าวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ขอให้ยึดหลัก 3 ส. ดังนี้

1) สะอาดปลอดภัย โดยภาชนะบรรจุ และสถานที่เก็บอาหารต้องสะอาด ปลอดภัยไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารได้

2) สัดส่วน ควรแยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วนเฉพาะไม่ปะปนกัน

3) สิ่งแวดล้อมเหมาะสม จัดเก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุอาหารให้เก็บไว้ได้นานๆ "โดยเฉพาะอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หากจะเก็บควรล้างให้สะอาดก่อนแล้วนำมาตัดแบ่งหรือหั่นเป็นชิ้นก่อนบรรจุในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ในปริมาณที่พอเหมาะกับการนำไปใช้ในแต่ละครั้ง แล้วจึงนำไปเก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส แยกเป็นสัดส่วนจากอาหารประเภทอื่น ไม่ควรแช่เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ๆ หรือทั้งตัวในตู้เย็น เนื่องจากความเย็นอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าเป็นชิ้นเล็ก ขนาดเล็ก หรือชนิดบด ควรใส่ถุงพลาสติกแช่อยู่ในช่องแช่แข็ง นอกจากนี้ ควรหมั่นสำรวจวันหมดอายุของอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น และไม่ควรเก็บอาหารไว้มากเกินไป จนทำให้การถ่ายเทอากาศ ในตู้เย็นเป็นไปอย่างลำบาก" แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับอาหารปรุงสำเร็จบรรจุกระป๋อง ผลไม้และน้ำผลไม้กระป๋อง รวมทั้งเครื่องดื่มต่างๆ ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนเลือกซื้อควรอ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียดโดยต้องมี เลขสารระบบอาหารในเครื่องหมาย อย. (เลข 13 หลัก) สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตวันเดือนปีที่หมดอายุ ลักษณะของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม ตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่วหรือเป็นสนิม นอกจากนี้ ก่อนกินอาหารทุกครั้ง ต้องอุ่นด้วยความร้อนให้เดือด และสามารถเพิ่มผักในอาหารกระป๋อง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ต้มยำปลากระป๋องน้ำพริกหนุ่มทูน่ากระป๋อง เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามอุ่นอาหารทั้งกระป๋องโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายจากสารเคลือบหรือสารโลหะที่จะละลายปนมาในอาหารได้ ส่วนอาหารกระป๋องที่เปิดแล้วหากกินไม่หมด ต้องถ่ายใส่ภาชนะอื่นที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคและควรเก็บในตู้เย็น

ที่มา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

27 มีนาคม 2563

สาธารณสุขประกาศเตือน!! คนที่ชอบใส่แหวน นาฬิกา เสี่ยงติดโควิด-19




จากสถานการณ์การแพรระบาดของไวรัสโควิด-19 ล่าสุดนั้น จึงขอเตือนคนที่ชอบใส่แหวนและนาฬิกา เพราะเป็นแหล่งของเชื้อโรคนั่นเอง

เพื่อเตือนเรื่องการสวมแหวนและ นาฬิกา แนะให้ทำความสะอาดเช็ดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ และระวังการ จับต้องสิ่งของ หรือพื้นที่สาธารณะอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพ และระมัดระวังกันด้วยนะคะ

26 มีนาคม 2563

วิธีดูแลสุขภาพจิตใจ ในช่วงโควิด-19 ระบาด


ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องยอมรับว่า ในช่วงนี้หลายคนวิตกกังวล เครียด และหวาดกลัวกันอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของบางคนเลยก็ว่าได้ แล้วเราจะมีวิธีการเตรียมพร้อมรับมือและดูแลสุขภาพจิตในช่วงนี้อย่างไรดี? 


ภาพประกอบ : pixabay

6  วิธีคลายเครียดและดูแลสุขภาพจิตใจในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำได้ง่าย ๆ  ดังนี้
1.  ลดการเสพข่าวที่สร้างความวิตกกังวลและบั่นทอนจิตใจต่าง ๆ 
2.  ระวังเว็บไซต์ข่าวปลอม โดยหากต้องการติดตามข่าวสารการระบาดของ COVID-19 ให้ติดตามจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและรับมือได้อย่างเหมาะสม
3.  พูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือคนที่ไว้ใจ เพราะช่วยให้คลายความรู้สึกกังวลหรือเครียดได้เป็นอย่างดี
4.  พยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 
5.  ไม่ใช้บุหรี่ สุราหรือยาเสพติดอื่น ๆ เพื่อจัดการกับความเครียด
6.  หากคุณรู้สึกเครียดหรือรู้สึกวิตกกังวลจนหาทางออกไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาหรือพบจิตแพทย์จะดีที่สุด

ทั้งนี้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำ 5 คาถา “อย่ากลัว” COVID-19
1.  อย่ากลัวไวรัส จนเชื่อข่าวปลอมข่าวลือ หรือเพิ่มความหวาดวิตกให้สังคม
2.  อย่ากลัวคนอื่น จนไม่กล้าเข้าใกล้ใคร หรือทำร้ายคนอื่นทางกายและจิตใจ
3.  อย่ากลัวความลำบาก จนไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ไม่ดูแลตัวเอง
4.  อย่ากลัวการรักษา จนปกปิดประวัติตัวเอง หรือไม่ยอมไปตรวจเมื่อมีอาการ
5.  อย่ากลัวอดเที่ยว จนสุดท้ายกลายเป็นเสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย
.

ข้อมูลอ้างอิง : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,  เพจกองปราบปราม

25 มีนาคม 2563

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1


สรุปสาระสำคัญของ
พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 1
—————
ข้อมูลเบื้องต้น
.
ชื่อเต็ม:
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1)
ระยะเวลาบังคับใช้:
26 มีนาคม - 30 เมษายน 2563
—————
สาระสำคัญ
.
1.  ห้ามประชาชนไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
2.  ให้ทุกจังหวัดปิดสถานที่เสี่ยง ต่อไปนี้ สนามมวย สนามม้า สนามกีฬา สนามเด็กเล่น ผับ อาบอบนวด นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส สถานบันเทิง สถานที่แสดงมหรสพต่าง ๆ
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ศาสนสถาน สถานีขนส่ง ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้แต่ละจังหวัดพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม

3.  ห้ามคนต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ ทางบก ยกเว้นคณะทูต ผู้ขนส่งสินค้าจำเป็น นักบิน ลูกเรือ (แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ประกอบ) 

4.  ห้ามกักตุนสินค้า เช่น ยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม และสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน

5.  ห้ามชุมนุมและมั่วสุม
6.  ห้ามแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ที่เป็นเฟกนิวส์และทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ถ้าพบ เจ้าหน้าที่จะเตือนให้แก้ข่าวหรือดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

7.  ให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ เตรียมโรงพยาบาลสนาม เตียง ยา เวชภัณฑ์ และขึ้นทะเบียนบุคลากรทางการแพทย์ที่เกษียณไปแล้ว

8.  บุคคล 3 ประเภทต่อไปนี้ให้อยู่ในบ้าน (ยกเว้นออกไปทำธุระจำเป็น เช่น พบหมอ ขึ้นศาล) ได้แก่
.
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
- คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

9.  ส่วนคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศสามารถกลับประเทศได้ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ หรือติดต่อขอหนังสือรับรองจากสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ

10.  ให้กรุงเทพฯ และแต่ละจังหวัดจัดตั้งจุดตรวจตามถนนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การก่ออาชญากรรม และการมั่วสุม

11.  ปฏิบัติตามมาตราการป้องกันโรค ที่ทางราชการกำหนด
.
-  ให้ทำความสะอาด ก่อนและทำ สถานที่ที่ทำงานและ กำกัดขยะมูลฝอยทุกวัน
-  สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
-  ล้างมือด้วย สบู่ แอลกอฮอล์ เจล หรือยาฆ่าเชื้อโรค
-  เว้นระยะห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร
-  ห้ามชุมนุม หรืออยู่ที่แออัด
.
เจ้าหน้าที่ อาจจะติดตั้งแอปพลิเคชันติดตามตัวในมือถือได้ ในบางกรณี

12.  สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐยังเปิดตามปกติ ยกเว้นสถานศึกษาที่ประกาศปิดไปก่อนหน้านี้แล้ว
 กิจการที่รัฐสนับสนุนให้เปิดเพื่อความสะดวกของประชาชน ได้แก่ โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ร้านอาหาร (ต้องซื้อไปทานที่บ้าน) ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดขายอาหารและสินค้าจำเป็น ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจเดลิเวอรี-ออนไลน์
.
ส่วนห้างสรรพสินค้าให้เปิดเฉพาะแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยา และแผนกสินค้าจำเป็น

13.  ยังไม่ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด แต่จะจัดตำรวจ-ทหารไปตั้งจุดสกัดรอยต่อระหว่างจังหวัด เพื่อตรวจสอบดังต่อไปนี้
.
- ผู้โดยสารบนรถต้องนั่งห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร
- ผู้โดยสารทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือติดตัว
- ยอมให้เจ้าหน้าที่วัดอุณหภูมิร่างกาย ถ้าอุณหูมิสูงจะถูกส่งไปกักกันตัว
- ยอมให้ติดตั้งแอปพลิเคชันติดตามตัวในมือถือ
- พกบัตรประชาชนและกรอกแบบฟอร์มข้อมูลทั่วไป

14.   พิธีการทางสังคมต่าง ๆ เช่น งานแต่ง งานศพ งานบุญ ให้จัดได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค

15.  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 1 - ข้อ 5   มีความผิด ตามมาตรา แห่งพรก.ฉุกเฉิน
16.  การบังคับใช้ ทุกพื้นที่ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป  และจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง


—————
สรุป 3 คำถาม
:
1.  ปิดประเทศหรือยัง?
.
ตอบ : ยังไม่ปิดประเทศและยังไม่ปิดสนามบิน เพราะต้องรอให้คนไทยกลับเข้าประเทศ แต่คนต่างชาติเข้ามาไม่ได้แล้ว

2.  ปิดเมืองหรือไม่?
.
ตอบ ยังไม่ปิดเมือง แต่ไม่สนับสนุนให้เดินทางข้ามจังหวัด จึงนำมาตรการที่ยุ่งยากลำบากมาใช้เพื่อลดการเดินทาง

3.  ประกาศเคอร์ฟิวหรือยัง?
.
ตอบ ยัง เคอร์ฟิวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เคอร์ฟิวคือการห้ามออกจากที่พักในเวลาที่กำหนด ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ห้าม

3 วิธีเอาชนะ Covid-19 ที่เป็นไปได้มากที่สุด ???


สำหรับ 3 วิธีที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า เราจะสามารถเอาชนะเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ เเละเป็น 3 วิธีที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด

วิธีที่ 1 คือ การคิดค้นวัคซีกป้องกันเชื้อไวรัส วิธีนี้ทั้งโลกเองก็กำลังร่วมมือกันคิดค้นอยู่ การรับวัคซีนป้องกันไวรัสเเล้วก็จะเป็นการป้องกันการติดเชื้อได้เเต่วิธีนี้มีการคาดการไว้ว่า
การคิดค้นวัคซีนนั้นจะต้องใช้เวลานานพอสมควร หรืออาจจะมากถึงปี 2021 ปัจจุบันก็มีการทดลองวัคซีนกับมนุษย์คนเเรกเเล้ว

วิธีที่ 2 คือ การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ หรือการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายหลังหายจากการติดเชื้อเเล้วหายดีเเล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานตลอดชีวิตทำให้ไม่ติดเชื้อนั้นอีกต่อไป
หากทุกคนติดเชื้อเเล้วหายเอง มีภูมิคุ้มกันเเล้วเชื้อก็จะไม่สามารถเเพร่ได้อีกต่อไป เเต่วิธีนี้มีความเสี่ยงมากหากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การรักษา ระบบสาธารสุขอาจจะไม่เพียงพอ ผู้เสียชีวิตก็จำนวนมากได้

วิธีที่ 3 คือ การจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อ วิธีนี้เป็นวิธีที่ทั่วโลกกำลังใช้อยู่ คือการจำกัดจำนวนผู้ติดเชื้อ ไม่ให้เชื้อเเพร่ไปมากเกินกว่าการควบคุมได้ ควบคู่กับการรักษา
การชะลอการติดเชื้อให้มีผู้ติดเชื้อในจำนวนที่ควบคุมได้ เพื่อรอวันที่สามารถคิดค้นวัคซีนได้สำรวจ สำหรับผู้ที่หายดีเเล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง
.
3 วิธีนี้เป็น 3 วิธีที่เป็นทางที่จะเอาชนะเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ เหมือนในอดีตที่มนุษย์สามารถเอาชนะโรคร้ายต่างๆมาได้ เเละครั้งนี้เราก็จะเอาชนะโรคร้ายได้เหมือนครั้งในอดีต
.
.
ที่มา
BBC ของอเมริกาที่มีข่าวออกมา


การประกาศ เคอร์ฟิว หรือ การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน คืออะไร ?


เคอร์ฟิว หรือ การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน

การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน หรือ เคอร์ฟิว หมายถึง คำสั่งของรัฐบาลให้ประชาชนกลับเคหสถานก่อนเวลาที่กำหนด อีกนัยหนึ่งคือการห้ามประชาชนออกจากเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด (มักเป็นเวลากลางคืน) ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือให้ความสะดวกต่อการปราบปรามกลุ่มเป้าหมาย โดยคำว่า คำว่า "เคอร์ฟิว" (curfew) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า couvre feu แปลว่า ดับไฟ (couvre = ดับ, feu = ไฟ)
โดยการประกาศ เคอร์ฟิว นั้นเรียกว่าเป็น สถานการณ์ฉุกเฉิน (state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้นๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (อังกฤษ: curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

การประกาศและการยกเลิกประกาศ

การประกาศว่าท้องที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เข้าร่วมกันเยียวยาสถานการณ์นั้น เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยจะประกาศทั้งราชอาณาจักรหรือบางท้องที่ก็ได้ และประกาศนี้มีอายุใช้บังคับสามเดือนนับแต่วันประกาศ แต่นายกรัฐมนตรีอาจขยายอายุดังกล่าวได้คราวละไม่เกินสามเดือนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ในบางสถานการณ์ หากไม่อาจขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศไปก่อน ค่อยขอความเห็นชอบทีหลังภายในสามวันนับแต่วันประกาศ หากคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ประกาศเช่นว่าจะเป็นอันสิ้นสุดลง (ม.5 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้วก็ดี เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบก็ดี หรือเมื่ออายุของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับหนึ่ง ๆ สิ้นสุดลงก็ดี นายกรัฐมนตรีจะมีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น (ม.5 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)
ทั้งนี้ ในกฎหมายเดิมกำหนดให้การประกาศและยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกัน (ม.21 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)

24 มีนาคม 2563

ไทยติดเชื้อโควิดพุ่งก้าวกระโดด แพร่ระบาด 47 จังหวัด หวั่น คุมไม่อยู่ !!


ข้อมูลตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ล่าสุดในต่างจังหวัด  ซึ่งขณะนี้ได้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่ 47 จังหวัด โดยพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มาจากสนามมวยเกือบทั้งส้ิน และมีแนวโน้มที่จะเจอผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไปสัมผัสเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่หลายคนยังไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยไม่กักตัวเองแต่อย่างใด


22 มีนาคม 2563

ลิเดีย แชร์ข้อมูลอาการป่วย และขอความร่วมมือจากทุกคนให้อยู่บ้าน : Social Distancing

ได้รับการตรวจสอบแล้ว


ลิเดีย แชร์ข้อมูลอาการป่วย และขอความร่วมมือจากทุกคนให้อยู่บ้าน : Social Distancing 
แชร์ข้อมูลค่ะ:

หลังจากที่ต้องแยกกันมาอาทิตย์กว่า ตอนนี้เดียกับพี่แมทได้อยู่ด้วยกันแล้วค่ะ มีกำลังใจดีขึ้นเยอะค่ะ
อาการช่วงแรกของเดียที่เข้าโรงพยาบาลคือไม่เป็นอะไรเลยที่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นหวัด ไม่เจ็บคอแล้ว ไม่มีน้ำมูกเลย ไม่ไอ แต่มีไข้ 37กว่า ก็เลยทำให้คิดว่ากำลังจะหาย จากการ Xray วันแรกก็ไม่เห็นอะไรในปอด สัญญาณทุกอย่างดีหมด แต่คุณหมอท่านสั่งทำ CT scan วันรุ่งขึ้น ผลออกมาคือไวรัสเข้าไปในปอดแล้ว แต่ไม่แสดงอาการเลย เดียไม่หอบ ไม่เหนื่อย ระดับออกซิเจนดีหมด แต่ปอดเริ่มอักเสบ


เดียถูกย้ายไปไอซียูเพื่อเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดและเริ่มทานยาทันที เดียรู้สึกแข็งแรงดีทุกอย่าง หายใจได้ ไม่มีอาการหวัด แต่มีผลข้างเคียงจากยาที่ทานเพราะค่อนข้างแรงและเยอะ อาการจากยาก็จะมีเวียนหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร และตามัวเหมือนสายตาสั้น ก็ต้องพยายามทานข้าวให้ได้เพื่อจะได้ทานยา
หลังจากเริ่มยาและอยู่ไอซียูมา 5 วัน เดียไม่มีไข้แล้ว สัญญานทุกอย่างดี Xray ปอดดูไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ก็ได้ย้ายออกจากไอซียู ตอนนี้ได้อยู่ด้วยกันกับพี่แมทแล้วค่ะ


อาการของพี่แมทแตกต่างจากเดีย พี่แมทไปถึงโรงพยาบาลวันแรกๆมีไข้และคัดจมูกและมึนๆหัวนิดหน่อย แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีไข้ไปอีก3วัน ตอนนั้นไม่ได้ทานยา ก็คิดว่าเริ่มดีขึ้น แล้วปล่อยให้หายเองได้ แต่หลังจากนั้นไข้กลับมาใหม่และท้องเสียหมอรีบ Xray ก็พบว่าเริ่มมีอาการปอดอักเสบเหมือนเดีย  พี่แมทจึงเข้า ICU และเริ่มยาทันที หลังจากกินยา ตอนนี้ทั้งคู่ไม่มีไข้แล้ว และออกจากไอซียูแล้ว


ตอนนี้คุณหมอและพยาบาลทำงานกันหนักโดยที่ไม่ได้กลับบ้านกันเลย ขอความร่วมมือจากทุกคนให้อยู่บ้าน อย่าออกไปรวมตัวกันเป็นกลุ่มข้างนอก ถ้าจำเป็นต้องออกก็ขอให้ใช้ความระมัดระวัง พยายามหลีกเลี่ยงที่ๆคนเยอะๆ ช่วยกันนะคะ เราจะได้ผ่านมันไปได้ค่ะ

.

ที่มา :
lydiasarunrat