ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องยอมรับว่า ในช่วงนี้หลายคนวิตกกังวล เครียด และหวาดกลัวกันอย่างมาก ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของบางคนเลยก็ว่าได้ แล้วเราจะมีวิธีการเตรียมพร้อมรับมือและดูแลสุขภาพจิตในช่วงนี้อย่างไรดี?
ภาพประกอบ : pixabay |
6 วิธีคลายเครียดและดูแลสุขภาพจิตใจในช่วงโควิด-19 ระบาด ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ลดการเสพข่าวที่สร้างความวิตกกังวลและบั่นทอนจิตใจต่าง ๆ
2. ระวังเว็บไซต์ข่าวปลอม โดยหากต้องการติดตามข่าวสารการระบาดของ COVID-19 ให้ติดตามจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและรับมือได้อย่างเหมาะสม
3. พูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือคนที่ไว้ใจ เพราะช่วยให้คลายความรู้สึกกังวลหรือเครียดได้เป็นอย่างดี
4. พยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. ไม่ใช้บุหรี่ สุราหรือยาเสพติดอื่น ๆ เพื่อจัดการกับความเครียด
6. หากคุณรู้สึกเครียดหรือรู้สึกวิตกกังวลจนหาทางออกไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาหรือพบจิตแพทย์จะดีที่สุด
2. ระวังเว็บไซต์ข่าวปลอม โดยหากต้องการติดตามข่าวสารการระบาดของ COVID-19 ให้ติดตามจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น เว็บไซต์ WHO หรือกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและรับมือได้อย่างเหมาะสม
3. พูดคุยกับคนในครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือคนที่ไว้ใจ เพราะช่วยให้คลายความรู้สึกกังวลหรือเครียดได้เป็นอย่างดี
4. พยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. ไม่ใช้บุหรี่ สุราหรือยาเสพติดอื่น ๆ เพื่อจัดการกับความเครียด
6. หากคุณรู้สึกเครียดหรือรู้สึกวิตกกังวลจนหาทางออกไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาหรือพบจิตแพทย์จะดีที่สุด
ทั้งนี้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำ 5 คาถา “อย่ากลัว” COVID-19
1. อย่ากลัวไวรัส จนเชื่อข่าวปลอมข่าวลือ หรือเพิ่มความหวาดวิตกให้สังคม
2. อย่ากลัวคนอื่น จนไม่กล้าเข้าใกล้ใคร หรือทำร้ายคนอื่นทางกายและจิตใจ
3. อย่ากลัวความลำบาก จนไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ไม่ดูแลตัวเอง
4. อย่ากลัวการรักษา จนปกปิดประวัติตัวเอง หรือไม่ยอมไปตรวจเมื่อมีอาการ
5. อย่ากลัวอดเที่ยว จนสุดท้ายกลายเป็นเสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย
2. อย่ากลัวคนอื่น จนไม่กล้าเข้าใกล้ใคร หรือทำร้ายคนอื่นทางกายและจิตใจ
3. อย่ากลัวความลำบาก จนไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ไม่ดูแลตัวเอง
4. อย่ากลัวการรักษา จนปกปิดประวัติตัวเอง หรือไม่ยอมไปตรวจเมื่อมีอาการ
5. อย่ากลัวอดเที่ยว จนสุดท้ายกลายเป็นเสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย
ข้อมูลอ้างอิง : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, เพจกองปราบปราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น